แรงกดที่ขาเครน คิดอย่างไร (Bearing pressure under outriggers.)
ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า มีหลายทฤษฎีมากๆ เพราะว่ารถเครนมีหลายชนิด หลายแบบ หลายยี่ห้อ หลายประเทศ หลายสถานการณ์ หลายสภาพพื้นดิน ค่าความปลอดภัยในการเผื่อ และอีกหลายปัจจัย แต่วันนี้จะขอหยิบยกมาด้วยทฤษฎีสมัยใหม่ ในการคำนวณแรงกดขาเครนสำหรับรถเครนล้อยางจากซีกโลกฝั่งโอเชียเนีย อาจจะยาวหน่อยนะครับ แต่ก็ไม่ได้ยากกว่าที่คิดนะครับ
พื้นฐานของเรื่องนี้ ต้องอธิบายคร่าวๆ 4 เรื่อง
เรื่องแรก ขาของรถเครนโดยส่วนใหญ่มี 4 ขา โดยล้อต้องลอยจากพื้น ห้ามรับน้ำหนัก ห้ามใช้ไม้หมอนรองหนุน ห้ามใช้อะไรมาค้ำขารถเครนไว้ไม่ให้กระดก
เรื่องสอง หลักการของไม้กระดกในสนามเด็กเล่น ฝั่งที่เรานั่งขับเครน คือ ฝั่งนึงของไม้กระดก ส่วนอีกฝั่ง จะเป็นฝั่งของชิ้นงาน น้ำหนักทั้งหมดจะกดลงที่ จุดหมุนของไม้กระดก หรือพูดอีกอย่าง คือ “จุดหมุนในการยกของ” คือ “ขารถเครน”
เรื่องสาม น้ำหนักกดที่เราคำนวณ คิดง่ายๆ คือ น้ำหนักของรถเครนทั้งหมด + น้ำหนักของชิ้นงาน ต่อไปจะเรียกว่า “น้ำหนักกดรวม”
เรื่องสี่ พื้นฐานของการคำนวณ ต้องยึดหลักว่า อยู่ในระดับน้ำทะเล 0 องศา
ถ้ายังไม่เข้าใจ กลับไปอ่านซ้ำใหม่ แล้วนึกภาพตามครับ ถ้าเข้าใจแล้ว มาต่อเลยครับ จะสอนการคำนวณของจริงกันแล้ว
วิธีการคำนวณมีขั้นตอนดังนี้ครับ
หนึ่ง, เอา “น้ำหนักรวม” (น้ำหนักรถเครน + น้ำหนักชิ้นงาน) เป็นตัวตั้ง
สอง, แรงกดของขารถเครนข้างที่ใกล้ชิ้นงาน ให้คิดข้างละ 75% ของน้ำหนักกด ส่วนข้างที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับชิ้นงาน ให้คิดข้างละ 50%
สาม, เอาจำนวนพื้นที่หารน้ำหนักในแต่ละข้าง เราจะได้น้ำหนักแรงกดต่อพื้นที่ ไปเปรียบเทียบกับ วิศวกรโยธา (Civil Engineer) ที่คำนวณไว้
ยกตัวอย่างเช่น รถเครนน้ำหนัก 96 ตัน น้ำหนักถ่วง 135 ตัน ยกของ 49 ตัน ใช้แผ่นเหล็กแบบ 2ม. X 2ม. ขารถเครนแต่ละข้างรับน้ำหนักที่เท่าไหร่
น้ำหนักรวม คือ 96 + 135 + 49 ตัน = 280 ตัน
จำนวนพื้นที่ คือ 2ม. X 2ม. = 4 ตารางเมตร
ขารถเครนข้างฝั่งที่ยกของคำนวณที่ 75%
280 x 0.75 = 210 ตัน
แรงกดต่อตารางเมตร คือ 210ตัน/4ตารางเมตร = 52.5 ตันต่อตารางเมตร
280 x 0.75 = 210 ตัน
แรงกดต่อตารางเมตร คือ 210ตัน/4ตารางเมตร = 52.5 ตันต่อตารางเมตร
ขารถเครนข้างฝั่งตรงข้ามคำนวณที่ 50%
280 x 0.5 = 140 ตัน
280 x 0.5 = 140 ตัน
แรงกดต่อตารางเมตร คือ 140ตัน/4ตารางเมตร = 35 ตันต่อตารางเมตร
ทีนี้ต้องคำนวณดูว่า พื้นที่รับแรงกดพอได้หรือเปล่า (Admin มีตารางอยู่ ถ้ามีเวลาจะเอาให้ดูวันหลัง) ถ้าไม่พอก็มี 2 วิธี คือ หนึ่ง, ปรับสภาพพื้นที่ กับ สอง, ขยายขนาดของแผ่นรองขา ซึ่งวิธีที่สองจะใช้ได้ง่ายกว่า ประหยัดกว่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับไม่ตายตัว
เพิ่มเติม
Admin คิดว่าประเทศไทยยังล้าหลังเรื่องนี้อยู่ 2 ประเด็น คือ หนึ่ง, ผู้ใช้งานรถเครนไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องนี้เลย เพราะมัวแต่ตรวจเอกสารรถเครนซึ่งไม่ได้มีความสำคัญเท่าพื้นที่การตั้งรถ และ สอง, กฎหมายที่บังคับใช้ ออกมาแต่ในรายละเอียดปลีกย่อย ไม่ค่อยถูกจุด ทำให้คนมีอำนาจบางคนเอาเรื่องกฎหมายมาใช้หากินกับผู้ประกอบการแบบผิดๆ เรื่องอันตรายที่สุดของรถเครน คือ พื้นที่การตั้งรถ แต่กลับไม่มีกฎหมายเป็นชิ้นเป็นอัน ผู้ใช้งานก็ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ มัวแต่บังคับให้ไฟติดรอบคัน เอกสารครบ ประกันรถ ยางสภาพดี(ทั้งๆที่ เวลารถเครนยกของ ล้อไม่คิดพื้น)
Admin คิดว่าประเทศไทยยังล้าหลังเรื่องนี้อยู่ 2 ประเด็น คือ หนึ่ง, ผู้ใช้งานรถเครนไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องนี้เลย เพราะมัวแต่ตรวจเอกสารรถเครนซึ่งไม่ได้มีความสำคัญเท่าพื้นที่การตั้งรถ และ สอง, กฎหมายที่บังคับใช้ ออกมาแต่ในรายละเอียดปลีกย่อย ไม่ค่อยถูกจุด ทำให้คนมีอำนาจบางคนเอาเรื่องกฎหมายมาใช้หากินกับผู้ประกอบการแบบผิดๆ เรื่องอันตรายที่สุดของรถเครน คือ พื้นที่การตั้งรถ แต่กลับไม่มีกฎหมายเป็นชิ้นเป็นอัน ผู้ใช้งานก็ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ มัวแต่บังคับให้ไฟติดรอบคัน เอกสารครบ ประกันรถ ยางสภาพดี(ทั้งๆที่ เวลารถเครนยกของ ล้อไม่คิดพื้น)
สุดท้ายนี้ อยากจะฝากเรื่องนี้ไว้ และอีกหลายๆเรื่อง ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์เอาไปใช้กันครับ แชร์กัน จะได้ลดจำนวนคนตาย คนบาดเจ็บ เพราะคิดว่า ในอนาคตของประเทศไทย รถเครนใหญ่ๆยังเข้ามากันอีกเยอะ และมีแนวโน้มจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่อยากให้กฎหมายออกมาหลังจากที่มีคดีคนตายแล้วเหมือนเดิม ยาวหน่อย แต่หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ ขอให้พระคุ้มครอง เดินทางปีใหม่นี้อย่างปลอดภัย และสวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ
เครดิต แฟนเพจกลุ่มผู้ประกอบการรถเครน
No comments:
Post a Comment