Monday, March 24, 2014

การอ่านกราฟการทำงานรถเครน



การอ่านกราฟการทำงานรถเครน

รถเครน 25 ตัน กับการอ่านกราฟการทำงาน (LoadChart)

รถเครน 25 ตัน ที่เขียนอยู่ข้างรถ มาจากความสามารถที่ทำได้สูงสุด ในพื้นที่ไม่มีการราบเอียง กางขารถเครนสุด และ ทำตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
-ยกใกล้ตัวมากที่สุด
-ใช้บูมท่อนแรก
-ตั้งบูมมากที่สุด1

ถ้ายกไกลตัวออกไป หรือยืดบูมออก หรือนอนบูมลง น้ำหนักที่สามารถยกได้ หายไปอย่างน่าตกใจ ตามหลักของฟิสิกส์

ผู้ผลิตที่กำหนดตัวเลขพวกนี้ จะดูที่ 2 ปัจจัยหลัก คือ
1.ความแข็งแรงของโครงสร้างรถเครน (Structure) เช่น ตัวบูมรถเครน ตัวขารถเครน เป็นต้น
2.เสถียรภาพรถเครน (Stability) หรือ ความสามารถของรถเครนที่จะต้านการกระดก (Tipping)

โดยตัวเลขที่อยู่ใน Load Chart (ตามภาพ) เป็นค่าของรถเครนที่ยกได้ตามปัจจัยต่างๆเช่น

A. สีม่วง, ใช้ความยาวบูมที่เท่าไหร่

B. สีน้ำเงิน, CG (Center of Gravity, จุดศูนย์ถ่วง) ของรถเครน ห่างจาก CG ของชิ้นงานเท่าไร

ตัวเลขพวกนี้มาจากการคำนวณของการทดสอบของผู้ผลิตรถเครนต่างๆ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานในประเทศ เช่น Din(German) JIS(Japan) เป็นต้น โดยมีการเผื่อ Safety Factor ไว้ในระยะต่างๆ ตัวเลขของ JIS’s safety factor คือ 27% (ถ้าจำไม่ผิด)

ยกตัวอย่างว่าถ้าตามกราฟกำหนดเต็มที่แล้วว่ายกได้ 10 ตันรวมน้ำหนักสมทบแล้ว ต้องยก 12.7 ตัน รถเครนถึงจะเริ่มกระดก

เส้นทึบ(Bold line) เป็นเส้นที่อยู่ใน Load chart ส่วนใหญ่ของรถเครน แบ่ง load chart ออกเป็น 2 ส่วน

1.structure zone หมายถึง ความสามารถของรถเครนจะถูกจำกัดด้วยเรื่องโครงสร้างรถเครน หรือแปลง่ายๆว่า ถ้ายกเกินกว่าตัวเลขนี้ บูมเครนจะหัก หรือเสียหายอื่นๆ ในด้านโครงสร้าง

2.stability zone หมายถึง ความสามารถของรถเครนถูกจำกัดด้วยเสถียรภาพ หรือแปลง่ายๆว่า ถ้ายกเกินกว่าตัวเลขนี้ รถเครนจะกระดก หรือ อาจคว่ำได้ โซนนี้ ถือว่า สร้างความเสียหายมากกว่าโซนแรกอยู่มากพอสมควร

อย่าลองทำงานจนรถกระดก แล้วค่อยคิดว่า รถทำงานไม่ไหวแล้ว การที่รถกระดก คือ Near Miss ที่อันตราย ไม่ควรปล่อยให้เกิด เพราะมันเป็นการทำงานเกิด load chart ไปไกลมากแล้ว

เงื่อนไขอื่นๆ ต้องดูตามประเภทรถเครน คู่มือรถเครน และสภาพแวดล้อมทั่วไปประกอบด้วยอีกหลายปัจจัย เพราะรถเครนมีการพัฒนาในหลักการที่ต่างกัน และทันสมัยขึ้นทุกที แต่ในหลักการส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ครับ

ขอให้พวกเราอ่านทวนกันอีกรอบ หรือหลายๆรอบ เรื่องนี้เป็น 1 ในที่มาสำคัญ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแบบรุนแรง

คำถามที่คนทั่วไปส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจ เช่น ทำไมรถเครน 50 ตัน ยกตู้หนัก 50 ตันไม่ได้ เป็นต้น เพราะว่าด้วยเงื่อนไขต่างๆ ตามที่เขียนมาทั้งหมดครับ


เครดิต กลุ่มรถเครนไทย

Monday, March 17, 2014

ทำไมถึงเรียกรถเครนยี่ห้อ TADANO บางรุ่นว่า CREVO



ตั้งแต่ปี 1995 TADANO ได้สร้างรถเครน 4 ล้อยางรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนรุ่นเก่า ที่เป็นผู้นำของระบบรถเครนสมัยใหม่ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นคำผสมระหว่างคำว่า เครน Crane และ วิวัฒนการ Evolution

Crane + Evolution = Crevo
หรืออ่านแบบญี่ปุ่นว่า Kurevu-o หรือ คุเระบุโอะ


เป็นที่มาของ เครโว่ ในเมืองไทยครับ

Monday, March 10, 2014

ภาพตัวอย่างของกลไกในรถเครนขาไขว้และขาตรง


ภาพตัวอย่างของกลไกในรถเครนขาไขว้และขาตรง
(X-outrigger and H-outrigger)

รถเครนล้อยางแบบ 10-12 ล้อ (truck crane) หรือ รถเครนล้อยางแบบ 4 ล้อ (rough terrain crane) ถูกติดตั้งด้วยระบบชุดขารถเครนไฮโดรลิกเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการทำงาน โดยปกติขารถเครนทำงานด้วยระบบไฮโดรลิก แต่รถเครนบางรุ่นก็จะติดตั้งขาหน้าเพิ่มขึ้นมาด้วย

สำหรับรถบรรทุกติดเครน(truck loader crane) หรือ รถเฮี๊ยบ ส่วนใหญ่ต้องใช้แรงมนุษย์ในการดึงขาเครนออกมาให้กางออก โดยที่ระบบไฮโดรลิกจะควบคุมเฉพาะการกดขาลง

Monday, March 3, 2014

ขายรถเครน 25 ตัน 4 ล้อ M4 Tadano TR250M-4 year1990 รถเครนนำเข้าจากญี่ปุ่น



ขายรถเครน 25 ตัน 4 ล้อ M4 Tadano รถเครนนำเข้าจากญี่ปุ่น

รถเครนนำเข้าจากญี่ปุ่นจากเขตคันไซ ประเทศญี่ปุ่น
รถเครนมาถึงเมืองไทยกลางปี 2557
"ตอนนี้ M4 เหลือน้อยมากๆ ในญี่ปุ่น ขาไขว้ด้วย"

รถเครน TR250M-4
รถเครน year 1990
รถเครน X-Outriggers Type
รถเครน 44061 KM
รถเครน 5194 HR

ราคา 5,000,000 บาท ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
อยากได้รูปรถเครนเพิ่มเติม แจ้งได้ครับ


boy@spkcrane.com
083-5841144
038-799925